02 ตุลาคม, 2551

มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล

มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลตามพระราชบัญญัติสงวน
และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535




..........ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 กำหนดให้เต่าทะเลตามบัญชีแนบท้ายตามกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองได้แก่
....................ลำดับที่ 39 เต่ากระ (Erethmochelys imbricata)
....................ลำดับที่ 46 เต่าตนุ (Chelonia mydas)
....................ลำดับที่ 47 เต่าหัวค้อน (Carette carette)
....................ลำดับที่ 54 เต่ามะเฟือง (Dermochelys coreacea)
....................ลำดับที่ 57 เต่าหญ้า หรือเต่าสังกะสี (Lepidochelys olivacea)


เต่ากระ



ชื่อ : เต่ากระ Hawksbill Turtle ( Eretmochelys imbricate )
ลักษณะเด่น : จะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า มี ๒ คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้างมี จำนวน ๔ เกล็ด ลักษณะเด่นชัด คือเกล็ดบนกระดองมีลวดลายริ้วสีสวยงาม และลักษณะของเกล็ดซ้อนกันเห็นได้ชัด ลักษณะค่อนข้างคล้ายเต่าตนุ

ขนาด : โตเต็มที่ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ขนาดโตถึงขั้นแพร่พันธุ์ได้ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร

อาหาร : เต่ากระอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง โดยเฉพาะเมื่อขนาดเล็ก จะอาศัยตาม ชายหาดน้ำตื้น กินสัตว์จำพวกฟองน้ำ หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร

แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่ากระในอ่าวไทย พบที่ เกาะคราม จ.ชลบุรี และพบกระจัดกระจายตามหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทะเลอันดามัน รวมทั้งแนวหาดทราย จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต




เต่าตนุ



ชื่อ : เต่าตนุ Green Sea Turtle ( Chelonia mydas )
ลักษณะเด่น : เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า ( Prefrontal Scale ) มีจำนวน ๑ คู่ เกล็ด บนกระดองแถวข้าง ( Costal Scale ) จำนวน ๔ เกล็ด ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกัน ไม่ซ้อนกัน สีสันและลวดลายสวยงาม โดยมีกระดองสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เต่าแสงอาทิตย์

ขนาด : โตเต็มที่ความยาวกระดอง ประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ ความยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร
อาหาร : เต่าตนุเป็นเต่าชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อพ้นวัยอ่อนแล้ว อาหารหลัก ได้แก่ พวกหญ้าทะเล และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เต่าตนุในวัยอ่อนจะกินทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เป็นอาหาร

แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่าตนุในอ่าวไทย พบที่เกาะคราม จ.ชลบุรี และพบประปรายทางฝั่งอันดามัน ทางชายทะเลตะวันตกของ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต รวมทั้งบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน




เต่าหัวค้อน


ชื่อ : เต่าหัวค้อน Loggerhead Sea Turtle ( Caretta caretta )
ลักษณะเด่น : ลักษณะเด่นทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมาก ต่างกันที่เกล็ดบน ส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน ๒ คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน ๕ แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย

อาหาร : กินอาหารจำพวก หอย หอยฝาเดียว และปู เป็นอาหาร

แหล่งวางไข่ : ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบเต่าหัวค้อนขึ้นวางไข่ ในแหล่งวางไข่เต่าทะเลของไทยอีกเลยตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยแล้ว




เต่ามะเฟือง


ชื่อ : เต่ามะเฟือง Leatherback Sea Turtle ( Dermochelys coriacea )
ลักษณะเด่น : เต่ามะเฟืองแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นอย่างชัดเจน ตรงที่มีขนาดใหญ่มากนอกจากนั้นกระดองไม่เป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นหนังหนามีสีดำ อาจมีสีขาวแต้มประทั่วตัว กระดองเป็นสันนูนตามแนวความยาวจากส่วนหัวถึงส่วนท้าย จำนวน ๗ สัน ไม่มีเกล็ดปกคลุมส่วนหัว จะงอยปากบนมีลักษณะเป็นหยัก ๓ หยัก

ขนาด : ขนาดโตเต็มที่มีความยาวกระดอง ประมาณ ๒๕๐ ซม. น้ำหนักกว่า ๑,๐๐๐ กก. ขนาดที่พบขึ้นมาวางไข่ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ซม.
อาหาร : เต่ามะเฟืองอาศัยอยู่ในทะเลเปิด กินอาหารจำพวกพืชและสัตว์ที่ล่องลอยตามน้ำ โดยอาหารหลักได้แก่ แมงกะพรุน
แหล่งวางไข่ : เต่ามะเฟืองปัจจุบันมีจำนวนน้อยมาก พบขึ้นวางไข่บ้างบริเวณหาดทรายฝั่งอันดามัน จ.พังงา ภูเก็ต และหมู่เกาะต่าง ๆ ปัจจุบันไม่พบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ในอ่าวไทย



เต่าหญ้า


ชื่อ : เต่าหญ้า Olive Ridley Turtle ( Lepodochelys olivacea )
ลักษณะเด่น : กระดองเรียบ สีเทาอมเขียว สีสันของกระดองไม่สวยงามเท่า เต่ากระและเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโต จะงอยปากมนกว่าเต่าตนุ ที่แตกต่างกันชัดเจน คือ เกล็ดบน ส่วนหัวตอนหน้า มีจำนวน ๒ คู่ และเกล็ดบนกระดองแถวข้างมีจำนวน ๖ - ๘ แผ่น ในขณะที่เต่าตนุและเต่ากระมีเพียง ๕ แผ่น และลักษณะพิเศษของเต่าหญ้า คือกระดอง ส่วนท้องแถวกลาง ( Inframarginal Scale ) มีรูสำหรับขับถ่าย หรือรูเปิดสำหรับประสาท รับความรู้สึก (ยังไม่ทราบระบบการทำงานที่ชัดเจน) จำนวน ๕ คู่

ขนาด : เต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดในจำพวกเต่าทะเล ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๗๕ – ๘๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๘๐ กิโลกรัม ขนาดโตเต็มที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ความยาวกระดองประมาณ ๖๐ เซนติเมตร
อาหาร : เต่าหญ้ากินพวก หอย ปู ปลา และกุ้งเป็นอาหาร จึงอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป มีจะงอยปากใหญ่คมและแข็งแรงสำหรับกัดหอยที่มีเปลือกเป็นอาหาร
แหล่งวางไข่ : พบมากทางฝั่งทะเลอันดามัน ตามหาดทรายฝั่งตะวันตกของ จ.ภูเก็ต พังงา และหมู่เกาะในทะเลอันดามัน ไม่พบเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ฝั่งอ่าวไทย



..........มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (เต่าทะเล) เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 26 ในเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเล ปัจจุบันทางราชการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมป่าไม้ และกองทัพเรือ โดยเฉพาะเกาะมันใน จังหวัดระยอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานกรรมสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างเป็นศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล และได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล" อยู่ในความดูแลของกรมประมง ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา

..........สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล แหลมพันวา ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้มีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ไข่เต่าทะเลขึ้นดำเนินการศึกษาชีววิทยาและติดตามดูการดำรงชีวิตและพฤติกรรมของเต่าทะเล ตลอดจนดำเนินการปล่อยเต่าทะเลลงสู่ทะเล การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในอันที่จะรักษาพันธุ์เต่าทะเลเอาไว้ตลอดไป ตลอดจนทำการเพาะพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์ โดยการเลี้ยงเต่าทะเลจนเจริญเติบโต เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์และทำการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์

..........ในการดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล ควรคำนึงถึงธรรมชาติและชีววิทยาของเต่าทะเลด้วย โดยเฉพาะในการนำไข่เต่ามาทำการเพาะฟัก และการปล่อยลูกเต่าในเทศกาลและสถานที่ต่าง ๆ แต่ในทางตรงข้ามในการดำเนินการลักษณ์นี้ ถ้าไข่เต่าทะเลส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การนำลูกเต่าทะเลไปปล่อยในแหล่งต่าง ๆ ก็จะมีโอกาสสูงจะเกิดการกระทบกระเทือนต่อประชากรเต่าทะเลในธรรมชาติ โดยหลักการแล้วควรให้ไข่เต่าทะเลประมาณ 50-70% ได้มีการฟักตัวเกิดและกลับสู่ทะเลตามธรรมชาติ แต่มีหลายแห่งชาวบ้านหรือชาวประมงท้องถิ่น ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ จึงไม่สามารถปล่อยให้เต่าทะเลเพาะฟักในธรรมชาติได้ จำเป็นต้องเก็บไข่เต่ามาฟัก

..........การอนุรักษ์เต่าทะเล จะกระทำประเทศใดประเทศหนึ่งจะได้ผลเต็มที่ จะต้องมีการร่วมมือกันในระหว่างประเทศหรืออย่างน้อยต้องมีการประสานงานกันในระดับภูมิภาค เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่มีการโยกย้ายถิ่น แหล่งอาหาร แหล่งอาศัยที่กว้างไกล


มาตรการการอนุรักษ์เต่าทะเล

..........บทบาทด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลส่วนใหญ่จะอยู่กับทางราชการ โดยเฉพาะแต่เมื่อมีกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขยายตัวไปกว้างขวาง ชุมชน องค์การพัฒนาเอกชนก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางด้านนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การดำเนินงานการอนุรักษ์เต่าทะเลไทย จำเป็นต้องมีการควบคุมและจัดการประชากรเต่าทะเลในธรรมชาติ ควบคู่กันกับการด้านกฎหมายและประชาสัมพันธ์


มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล ประกอบด้วย

..........1. เพิ่มมาตรการคุ้มครองป้องกันการลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล พยายามตรวจตราแหล่งวางไข่เต่าทะเล โดยร่วมมือกันกับชุมชนในท้องถิ่นโดยการจัดตั้ง "กลุ่ม" หรือ "ชมรม" การอนุรักษ์เต่าทะเลและสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาไข่เต่าทะเลไว้ให้ได้และให้มีการเพาะฟักขยายพันธุ์ในธรรมชาติให้มากที่สุด โดยการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เพื่อช่วยทางราชการในการป้องกันผู้ลักลอบเก็บไข่เต่าทะเลไปขาย ตลอดจนรณรงค์งดการบริโภคไข่เต่าทะเล เพื่อลดการทำลายไข่เต่าทะเลในธรรมชาติ

..........2. ป้องกันการล่าเต่าทะเลเพื่อนำเนื้อเต่าทะเลมาบริโภค ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าทะเลโดยเฉพาะชาวเล (ไทยใหม่) เจ้าหน้าที่ต้องพยายามไปตรวจตราตามแพปลาใหญ่ ๆ เพราะแพปลาเป็นแหล่งขายเนื้อเต่าทะเลแหล่งใหญ่ที่สุด

..........3. เข้มงวดตรวจตราร้านค้าที่ขายกระดองเต่าทะเลสตัฟฟ์หรือนำกระดองเต่าทะเลมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ

..........4. ป้องกันแหล่งขึ้นวางไข่เต่าทะเลบนชายหาด ไม่ให้ถูกทำลายมากกว่านี้ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มีแสงไฟและมีผู้คนพลุกพล่าน หาทางฟื้นฟูแหล่งวางไข่เต่าทะเลให้คงสภาพเหมาะสมที่เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่ต่อไป

..........5. เข้มงวดตรวจตราการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการทำการประมงอวนลาก อวนรุน ในระยะ 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง นอกจากเป็นการทำลายเต่าทะเลโดยตรงแล้ว การลากอวนยังทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเลอีกด้วย เห็นสมควรมีการปราบปรามการประมงที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง และควรกำจัดเครื่องมืออวนลากให้มีจำนวนให้เหมาะสมกับจำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำสำหรับอวนรุนไม่ควรให้มีอีกต่อไป

..........6. ป้องกันแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเล พยายามรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเลให้คงสภาพสมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้ว ได้แก่ บริเวณชายฝั่งแนวปะการัง, หญ้าทะเล เป็นต้น

..........7. อบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติให้เข้าใจมาตรการการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เป็นต้น และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลอย่างจริงจังและจริงใจ

..........8. จัดอบรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ชาวประมงและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลของไทย เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล ให้เกิดแรงร่วมมือร่วมใจช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้ได้ผล

..........9. การประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ต่าง ๆ โดยการทำแผ่นพับ โปสเตอร์ จุลสารต่าง ๆ โดยความร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน

..........10. การจัดงานปล่อยลูกเต่าทะเล พร้อมกับจัดนิทรรศการเผยแพร่เรื่องเต่าทะเล เป็นวิธีการส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ได้ผลทางหนึ่ง การปล่อยลูกเต่าทะเลเป็นการให้ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทางหนึ่ง คนไทยมีความเชื่อตามขนบธรรมเนียมประเพณี ว่าการปล่อยสัตว์น้ำเป็นการให้ชีวิตใหม่ จะได้บุญกุศลมากและมีอายุยืนยามเหมือนเต่า อีกประการหนึ่งเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนและเอกชนหันมาช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้เหลือไว้เป็นสมบัติของธรรมชาติและประเทศสืบไป
..........ส่งเสริมให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดงานปล่อยเต่าทะเล เช่น จังหวัดภูเก็ต มีกลุ่มอนุรักษ์เต่าทะเลบ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จัดพิธีปล่อยเต่าทะเล ขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ หรือวันประมงแห่งชาติ ณ บริเวณชายทะเลหาดไม้ขาว นอกจากนี้โรงแรมในเครือลากูน่า กรุ๊ป ตำบลบางเทา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ก็มีการจัดงานปล่อยเต่าทะเลทุก ๆ ปีเช่นเดียวกัน

..........11. รักษาประเพณี "การเดินเต่า" ของคนภูเก็ต - พังงา เอาไว้ ชายหาดบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่ ประมาณเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี
..........การเดินเต่า คือ การออกไปเดินชายหาดที่มีเต่าทะเลขึ้นวางไข่ในตอนกลางคืนโดยเฉพาะคืนเดือนมืดเป็นคณะเป็นกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกับทางราชการอีกด้วย ในปัจจุบันชายหาดที่มีการเดินเต่าทะเล ได้แก่ หาดไนยาง และหาดท้ายเหมือง แต่โอกาสที่จะได้เห็นเต่าทะเลคลานขึ้นมาวางไข่มีน้อยมาก เพราะหาดทรายถูกรบกวน จำนวนเต่าก็มีน้อย

..........12. จัดสัมมนาในหัวข้อ "แนวทางการอนุรักษ์เต่าทะเล" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม, ชมรมอนุรักษ์ฯ และองค์กรเอกชนต่าง ๆ เพื่อมาระดมความคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล

..........13. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งใช้มาเป็นเวลานาน และได้แก้ไขเพียง 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2528 เท่านั้น มีการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดเพียงเล็กน้อย ทำให้ประชาชนไม่เกรงกลัว หรือขาดความเคารพต่อกฎหมาย

..........14. ให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลแก่องค์กรเอกชนต่าง ๆ ให้มากขึ้น ได้แก่ กลุ่ม หรือชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือมูลนิธิที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันองค์กรเอกชนเหล่านี้มีบทบาทด้านการอนุรักษ์มาก



การอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย


..........เต่าทะเล ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคูณค่าและประโยชน์มากมายหลายด้านทั้งการอุปโภค บริโภค ส่วนต่างๆนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นทำเครื่องประดับ เครื่องหนัง และด้วยเหตุนี้เองทำให้เต่าทะเลถูกจับนำมาใช้ประโยชน์ จนทำให้เต่าทะเลลดลง และอาจจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า ดังนั้น จึงต้องมีการอนุรักษ์ขึ้น


..........1. ฟาร์มเต่าทะเล
....................การทำฟาร์มเต่าทะเลได้มีการดำเนินงานมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร พ.ศ.2514 ได้มีการทดองเลี้ยงเต่าในห้องทดลอง และได้มีการริเริ่มจัดตั้งฟาร์มเต่าทะเลเพื่อการอนุรักษ์ในปี 2522 โดยสมเด็จพระนางเจ้าๆ พระบรมราชินีนาถ ณ สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน จ. ระยอง

..........2. สภาพการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในประเทศไทย
....................ในประเทศไทย ได้มีการเก็บไข่เต่าทะเลเพื่อการบริโภคมาเป็นเวลานาน ในส่วนของการทำประมงก็มีข้อห้าม โดยประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามความในมาตรา 32(7)แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 วันที่14 เมษายน พ.ศ.2490คุ้มครองเอาไว้ กล่าวคือ ห้ามจับ ดัก ล่อ ทำอันตราย และฆ่าเต่าทะเลทุกชนิดรวมทั้งไข่ของเต่าทะเล ผู้ใดฝ่าฝืนต้องจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประเทศไทยก็ยังลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศของสัตว์ป่าและพืชป่าที่กลังจะสูญพันธุ์ (CITES)

..........3. การควบคุมการใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์จากเต่าทะเล แบ่งออกได้ 3 ประเภท
....................3.1 การค้า โดยการห้ามมาตรการหยุดยั้งการค้าจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากเต่าทะเล

....................3.2 ควรส่งเสริมให้ชาวทะเลทำประมงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเต่าทะเล และให้ความรู้ควบคู่กัน ไป

....................3.3 การทำฟาร์มเต่าทะเล ทั้งทางภาครัฐและเอกชน

..........4. เต่าทะเลที่ติดอวนขณะทำการประมง
ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการลดลงของจำนวนเต่าทะเล จะต้องจัดการในเรื่องนี้คือ
....................4.1 จัดตั้งเขตห้ามทำการประมง
....................4.2 พัฒนาเครื่องมือและเทคนิคการทำการประมง เพื่อลดการติดมาของเต่าทะเลในการทำประมง
....................4.3 ควรจัดการพิจารณาปัญหา และจัดการระเบียบและข้อบังคับขึ้น
....................4.4 ควรยุติความพยายามใดที่จะอาศัยการทำการประมงเพื่อจับเต่าทะเลในธรรมชาติ

..........5. การวิจัย
ในเรื่องของการวิจัยจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
....................5.1 การสำรวจและประเมินขนาดจำนวนของเต่าทะเลทุกชนิด
....................5.2 ความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยา และชีววิทยาการแพร่พันธุ์ของเต่าทะเลทุกชนิด
....................5.3 เทคนิคในการจัดการ มีสิ่งที่สำคัญคือ การทดสอบมาตรการที่ได้ผลในการเพิ่มจำนวน

..........6. ยุทธวิธีในการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก
....................David Ehrenfeld ได้เสนอวิธีการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก พร้อมทั้งแผนการปฏิบัติการ และโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล ณ กรุงวอชิงตัน ระหว่าง 26-30 พฤศจิกายน 2522


นโยบายอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล


..........1. การป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัย


..........2. การจัดการทรัพยากรเต่าทะเล
....................-การให้การศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล กระทำโดยเผยแพร่มาตรการอนุรักษ์ที่ได้ผลให้แต่ละประเทศทราบ เพื่อที่ในแต่ละประเทศจะได้นำไปใช้เป็นนโยบายในการปฏิบัติ
....................- ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
.................... - การใช้ไมโคชิพในการติดตามเต่าทะเล
....................- เครื่องมือแยกเต่าทะเลในการทำประมงทะเล เพื่อแยกเต่าทะเลที่จะติดมาในการทำประมง

01 ตุลาคม, 2551

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา Fish Marketing Organization




..........ความเป็นมาของหน่วยงานในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวการณ์ประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้

....................- บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
....................- บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
....................- การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
....................- จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
....................- บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
....................- บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน

..........1.พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
..........2.สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
..........3.ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว



ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

..........1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
..........2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
..........3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
..........4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
..........5.สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
..........6.กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ



อำนาจหน้าที่

..........1.กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
..........2.กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
..........3.กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
..........4.สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
..........5.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
..........6.งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
..........7.งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข



การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา

..........ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
....................1.การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
....................2.การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
....................3.การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
....................4.การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส



โครงสร้าง-แผนผังองค์กร

..........1.กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899


..........2.กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780


..........3.กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494


..........4.สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690


..........5.สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803


..........6.สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789


..........7.ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606


..........8.ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232


..........9.ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545


..........10.ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342


..........11.ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699


..........12.ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178


..........13.ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761


..........14.ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169


..........15.ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209


..........16.ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753


..........17.ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์


..........18.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899


..........19.ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899


..........20.ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899


Linkของเวปสะพานปลาที่ต่างๆ


สะพานปลาสมุทรงสาคร
http://document.fishmarket.co.th/site/sakorn.html

สะพานปลานครศรีธรรมราช
http://document.fishmarket.co.th/site/nkorn.html

ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://document.fishmarket.co.th/site/huahin.html

ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://document.fishmarket.co.th/site/chumporn.html

ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี
http://document.fishmarket.co.th/site/surat.html

ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://document.fishmarket.co.th/site/stoon.html

ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://phuket.fishmarket.co.th/

ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://document.fishmarket.co.th/site/trad.html

ท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา
http://document.fishmarket.co.th/site/sila.html

สะพานปลากรุงเทพ
http://document.fishmarket.co.th/site/bangkok.html

สะพานปลาสมุทรปราการ
http://document.fishmarket.co.th/site/pakarn.html

ท่าเทียบเรือประมงระนอง
http://document.fishmarket.co.th/site/ranong.html

ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://document.fishmarket.co.th/site/pattanee.html

ท่าเทียบเรือประมงสงขลา
http://document.fishmarket.co.th/site/skla.html

ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส
http://document.fishmarket.co.th/site/nara.html

ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://document.fishmarket.co.th/site/lungsuan.html

วัตถุมีพิษตามพระราชบัญญัติการประมง

วัตถุมีพิษ


..........มาตรา 19 : ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ลงในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้สัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



..........วัตถุมีพิษ หมายถึง "สารออกฤทธิ์หรือวัตถุที่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ด้วย และให้หมายความรวมถึงวัตถุมีพิษธรรมดาและวัตถุมีพิษร้ายแรง" แต่ในมาตรานี้เป็นวัตถุมีพิษตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจานุเบกษา



..........องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการทิ้งวัตถุในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำตามมาตรา 19 มีดังนี้

.................... (1.)เท ทิ้ง ระบายหรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ
.................... (2.)กระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาในที่จับสัตว์น้ำ
.................... (3.)เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อแก่สัตว์
.................... (4.)หรือทำให้เกิดมลพิษ
.................... (5.)เว้นแต่เป็นการเป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่




..........วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2532 มี 12 ชนิด ซึ่งรวมทั้งสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน โดยกำหนดความเข้มข้น 6 ชนิดและอีก 6 ชนิดกำหนดให้มีไม่ได้เลย ดังนี้


....................(1.) DDT อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm.


....................(2.) Dieldrim อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm.


....................(3.) Aldrin อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm.


....................(4.) Heptachor ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm.


....................(5.) Heptachor epoxide ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm.


....................(6.) Carbofuran ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm.


....................(7.) Endrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย


....................(8.) Chlorpyrifos กำหนดให้มีไม่ได้เลย


....................(9.) Endosulfan กำหนดให้มีไม่ได้เลย


....................(10.) Deltamethrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย


....................(11.) Sodiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย


....................(12.) Potassiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย




..........ความผิดตามมาตรานี้ ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อมีการ เท ทิ้ง ระบายวัตถุมีพิษ หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอง หนองบึง แม่น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุแห่งวัตถุที่ทิ้งนั้นว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ตาม ก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ


……….ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยมีความเสื่อมโทรม และมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากธรรมชาติที่มีจำนวนลดลงให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน และเหมาะสมกับปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะลดลงในอนาคต ในด้านกฎหมาย และสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และการจัดการภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลักในการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการเขื่อนและ อ่างเก็บน้ำก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งด้านบวกและด้านลบ แม้ว่าการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจะมีประโยชน์หลายด้าน เช่น เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม การผลิตกระแสไฟฟ้า และการป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านกายภาพ และ ชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ป่าไม้บางส่วนจะถูกน้ำท่วม บางส่วนจะต้องถูกตัดถางเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งเป็น ช่องทางให้มีการบุกรุกเข้าไปทำลายป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนชนิดของสัตว์ป่าลดลง เนื่องจากไม่มีที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารที่เหมาะสมตลอดจนมีผลกระทบ โดยตรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการ ทั้งในแง่เศรษฐกิจสังคมการอพยพ และการตั้งถิ่นฐาน นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยต่อประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้นได้ ป้องกันความเสียหายต่อทรัพยากรและสภาพแวดล้อมไว้อย่างรอบคอบ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด




เขื่อน


สามารถจำแนกตามการใช้งานได้ดังนี้

เขื่อนเก็บกักน้ำ

……….คือ เขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำในช่วงเวลาน้ำมากเกินความต้องการไว้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำ หรือ สร้างปิดกันลำน้ำธรรมชาติระหว่างหุบเขาหรือเนินสูง เพื่อเก็บน้ำที่ไหลมามากไว้ทางด้านเหนือเขื่อน น้ำที่เก็บไว้นี้สามารถนำออกมาทางอาคารที่ตัวเขื่อนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ โดยอาจจะระบายไปตามลำน้ำให้กับเขื่อนทดน้ำที่สร้างอยู่ด้านล่าง หรืออาจส่งเข้าคลองส่งน้ำซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
……….1. เก็บกักน้ำบางส่วนไว้ชั่วคราว ขณะที่มีน้ำมาก และค่อย ๆ ระบายในภายหลัง
……….2.กักน้ำไว้ให้นานที่สุดแล้วปล่อยน้ำซึมเข้าไปในฝั่งหรือไหลซึมเข้าไปในดิน เพื่อเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน



เขื่อนระบายน้ำ

……….เป็นอาคารทดน้ำแบบหนึ่ง ซึ่งสร้างขวางลำน้ำ สำหรับทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูง จนสามารถส่งเข้าคลองส่งน้ำได้ตามปริมาณที่ต้องการในฤดูกาลเพาะปลูก เช่นเดียวกับฝาย แต่เขื่อนระบายน้ำจะระบายน้ำผ่านเขื่อนไปได้ตามปริมาณที่กำหนด โดยไม่ยอมให้น้ำไหลล้นข้ามสันฝายเพื่อการประปา และเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม

สามารถจำแนกตามการการก่อสร้างได้ดังนี้


เขื่อนถม


……….1. เขื่อนดินถม หรือ เขื่อนดิน คือเขื่อนที่สร้างขึ้นโดยการนำเอาดินมาบดอัดให้แน่นด้วยเครื่องจักรกล หรือแรงคน เขื่อนดินมีลักษณะทึบน้ำ หรือน้ำซึมผ่านเขื่อนดินได้ยาก และมีความมั่นคงแข็งแรงเช่นเดียวกัน
……….……….1.1เขื่อนดินถมที่อัดด้วยดินชนิดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมด
……….……….1.2เขื่อนดินถมที่บดอัดด้วยดินชนิดเดียวกันเกือบทั้งหมดคล้ายกับแบบแรก ยกเว้นด้านเขื่อนถมด้วยกรวด หิน หรือทรายหยาบ ทำหน้าที่ลดแรงดันของน้ำที่รั่วซึมผ่านตัวเขื่อนและเกิดปัญหากัดเซาะท้ายเขื่อน
……….……….1.3เขื่อนดินถมที่มีแกนอยู่กลางตัวเขื่อน แกนเขื่อนจะมีความทึบน้ำสูง ป้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่านตัวเขื่อน หรือผ่านได้น้อย
……….2. เขื่อนหินถม หรือ เขื่อนหินทิ้ง มีรูปร่างเหมือนเขื่อนดินถมบดอัดแน่น แต่เขื่อนหินถมจะสร้างด้วยหินระเบิดเป็นก้อนขนาดเล็กใหญ่ นำมาบดอัดแน่นเป็นเปลือกนอกหุ้มแกนดินทึบน้ำบดอัดแน่น (ดินเหนียว) ไว้ทั้งสองด้านเนื่องจากวัสดุที่ใช้ประกอบด้วยหินขนาดต่างๆ ตลอดจนกรวด ทรายมีปริมาณมากกว่าดินทึบน้ำจึงเรียกว่า เขื่อนหินถม
……….……….2.1เขื่อนหินถมที่มีแกนหรือผนังกั้นน้ำอยู่ในตัวเขื่อน แกนดินอยู่ตรงกลางเขื่อน และอยู่ในแนวดิ่งหรือตั้งตรง
……….……….2.2เขื่อนหินถมที่มีแกนหรือผนังกั้นน้ำอยู่ในตัวเขื่อน แกนดินที่สร้างเอียงตามลาดด้านเหนือน้ำ
……….……….2.3เขื่อนที่ไม่มีแกนทึบน้ำในตัวเขื่อน แต่จะสร้างเป็นแผ่นทึบน้ำบนลาดตลิ่งด้านเหนือน้ำ เพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลซึมผ่านตัวเขื่อน



เขื่อนคอนกรีต


เขื่อนที่สร้างด้วยคอนกรีตแบบต้านแรงดันของน้ำด้วยน้ำหนัก
……….1.เขื่อนที่สร้างขึ้นเป็นแนวตรงขวางลำน้ำระหว่างหุบเขา มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยม ที่มีฐานของเขื่อนกว้างไปตามลำน้ำ เขื่อนประเทนี้จะต้องอาศัยน้ำหนักของตัวเขื่อนที่กดลงบนฐานรากในแนวดิ่ง สำหรับต้านแรงดันที่เกิดจากน้ำซึ่งเก็บน้ำทางเหนือเขื่อน ไม่ให้เขื่อนล้มหรือเลื่อนถอยไป
……….2. เขื่อนรูปโค้งที่สร้างด้วยคอนกรีต เป็นเขื่อนที่มีรูปโค้งเป็นส่วนของวงกลมสร้างขวางลำน้ำระหว่างหุบเขา โดยที่ปลายเขื่อนทั้งสองจะฝังแน่นไว้กับบริเวณลาดเขาทั้งสองข้าง เขื่อนที่โค้งเป็นส่วนของวงกลมนี้ สามารถรับแรงดันของน้ำที่กระทำกับตัวเขื่อนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะคอนกรีตทุกส่วนของตัวเขื่อนสามารถรับแรงกดได้เต็มที่ตามแนวโค้ง แล้วถ่ายแรงดันส่วนใหญ่ที่เกิดจากน้ำไปให้ลาดเขาที่ปลายเขื่อนสองข้างนั้นรับไว้อีกต่อหนึ่ง เขื่อนประเภทนี้จึงไม่ต้องอาศัยน้ำหนักของเขื่อนเป็นหลัก ทำให้มีลักษณะบาง และสร้างได้อย่างประหยัดอนึ่ง สำหรับที่จะเลือกเขื่อนเป็นประเภทใดนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์และพิจารณาอย่างละเอียด ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสภาพของฐานรากว่าเขื่อนลักษณะใดจะมีราคาถูกและสร้างได้มั่งคงแข็งแรง กว่ากัน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับเขื่อนรูปโค้งแม้จะใช้คอนกรีตจำนวนน้อยกว่า แต่ก็มีความเหมาะสมที่จะ สร้างในทำเลที่เป็นหุบเขาแคบและลึกเท่านั้น ส่วนเขื่อนประเภทต้านแรงดันน้ำด้วยน้ำหนักจะสร้างได้ดี ทั้งในภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาไม่ว่าจะแคบหรือกว้าง ตลอดจนทำเลที่สภาพฐานรากไม่มั่นคงแข็งแรงพอ ที่จะสร้างเขื่อนรูปโค้งอีกด้วย


เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น หรือ RCC. Dam
……….1. เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น (Roller Compacted Concrete Dam) หรือ RCC. Dam ได้เริ่มคิดค้นกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 แต่ได้เริ่มก่อสร้างจริงในราวปี 1980 ได้แก่ เขื่อน Shimajigawa ในประเทศญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1982 ได้มีการก่อสร้างเขื่อน คอนกรีตบดอัดแน่น ชื่อ Holbeam Wood ในประเทศอังกฤษ และเขื่อน Willow Creek ในประเทศสหรัฐอเมริกา
……….2. การจำแนกประเภทของเขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นเขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น (RCC. DAMS) จำแนกประเภท ตามวิธีการออกแบบ และการ ก่อสร้างออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
……….……….2.1 เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นใช้ปูนซีเมนต์น้อย (Lean RCC. Dams) เป็นเขื่อนที่ใช้ตัวเชื่อมประสาน (Cementitious) คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland - Cement) กับ ขี้เถ้าลอย (Fly Ash) น้อยกว่า 100 กก./ลบ.ม (Fly Ash ไม่เกิน 40 %)และ ในการบดอัดแต่ละชั้นจะถมหนาประมาณ 0.30 เมตร ได้แก่ เขื่อน WillowCreek และเขื่อน Grindstone Canyon ในสหรัฐอเมริกา
……….……….2.2 เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นใช้ปูนซีเมนต์ปานกลาง (Medium-Paste RCC. Dams)เป็นเขื่อนที่ใช้ตัวเชื่อมประสานคือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์กับ ขี้เถ้าลอย ระหว่าง 100-150 กก./ลบ.ม (Fly Ash ระหว่าง 40-60%)และ ในการบดอัดแต่ละขั้น จะถมหนาประมาณ 0.30 เมตร ได้แก่ เขื่อน Taung ใน อเมริกาใต้และเขื่อน Quail Creek South ในสหรัฐอเมริกา
……….……….2.3 เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นใช้ปูนซีเมนต์มาก(High- Paste RCC.Dams) เป็นเขื่อนที่ใช้ตัวเชื่อมประสานคือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์กับขี้ เถ้าลอย มากกว่า 150 กก./ลบ.ม ขึ้นไป (Fly Ash ระหว่าง 60-80%) และในการ บดอัด แต่ละชั้นจะถมหนาไม่เกิน0.30 เมตร ได้แก่เขื่อน Santa Eugenia ในสเปน และเขื่อน Upper Stillwater ในสหรัฐอเมริกา
……….……….2.4 เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นโดยวิธี RCD. (Roller Compacted Dam) การก่อสร้างเขื่อนวิธีนี้ได้ทำขึ้น ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างไปจาก เขื่อน RCC.ทั่วๆไป กล่าวคือ ตัวเขื่อนจะมีเปลือกหุ้มซึ่งทำจากคอนกรีตธรรมดา (Conventional Concrete) หนาประมาณ 2.00-3.00 เมตร เป็น เขื่อนที่ใช้ตัวเชื่อมประสาน คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์กับขี้เถ้าลอย ระหว่าง 120-130 กก./ลบ.ม (Fly Ash ระหว่าง 20-35%) และในการบดอัดแต่ละชั้น หนาประมาณ 0.50-0.75 เมตร และมีการตัดรอยต่อ (Transverse Joints) จากด้านเหนือน้ำไปยังด้านท้ายน้ำด้วย ได้แก่ เขื่อน Tamagawa ในประเทศ ญี่ปุ่น และเขื่อน Guanyinge ในประเทศจีน การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่นโดยวิธี RCD.นี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่คิด ทำขึ้น ได้แก่ เขื่อน Tamagawa Dam และ เขื่อน Asari Dam เป็นต้น ซึ่ง แตกต่างจาก RCC. Dam ทั่วๆ ไป และญี่ปุ่นได้นำวิธีการก่อสร้างนี้ไปเผยแพร่ในประเทศจีน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อน Guanyinge Dam


……….สำหรับประเทศไทยได้มีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อน RCC. Dam แล้ว ได้แก่ เขื่อนแม่สรวย จ.เชียงราย และเขื่อนคลองท่าด่าน จ.นครนายก การก่อสร้างเขื่อนด้วยวิธีนี้สามารถทำได้รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า เขื่อนคอนกรีตธรรมดา แต่ ปัญหาสำคัญ คือ เรื่อง Fly Ash ที่จะนำมาผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อ ลดอุณหภูมิของคอนกรีต นั้นยังไม่มีแหล่งผลิตในด้านอุตสาหกรรม Fly Ash ของบ้านเรา เป็นแบบ Class C ซึ่งได้มาจากการเผาถ่านลิกไนท์ที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง ขณะนี้ได้มีการทดสอบและนำไปใช้งาน บ้างแล้ว เช่น ที่โครงการ เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี



ฝาย



……….ฝาย คือ อาคารทดน้ำประเภทหนึ่งสร้างขึ้นทางต้นน้ำของลำน้ำธรรมชาติ ทำหน้าที่ทดน้ำที่ไหลมาตามลำน้ำให้มีระดับสูง จนสามารถใหลเข้าคลองส่งน้ำได้ตามปริมาณที่ต้องการในฤดูการเพาะปลูก ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลล้นข้ามสันฝายไป ฝายส่วนใหญ่จะมีขนาดความสูงไม่มากนัก มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู

ฝาย มี 2 ชนิด

……….1. ฝายยาง
……….……….คือ ฝายที่สามารถควบคุมการพองตัวและยุบตัวด้วยน้ำ หรือ อากาศเพื่อเก็บกักน้ำในลำน้ำเหนือฝาย สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ในฤดูแล้ง และสามารถลดระดับเพื่อระบายน้ำหลากมากเกินความต้องการในฤดูฝน ซึ่งจะสามารถระบายตะกอนที่ทับถมบริเวณหน้าฝายได้ด้วย ฐานฝายและพื้นลาดตลิ่งสร้างด้วยหินก่อ คอนกรีต หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวฝายยางประกอบด้วยแผ่นยางม้วนเป็นรูปคล้ายทรงกระบอก วางพาดขวางตลอดลำน้ำแล้วยึดติดแน่นกับฐานฝาย และที่ตลิ่งทั้งสองฝั่งตามแนวขอบยางด้านเหนือน้ำ ซึ่งหลังจากสูบลมหรือน้ำเข้าไปในตัวฝายยางจนถึงระดับความดันที่กำหนดแล้ว ตัวฝายยางนี้จะสามารถกักกั้นน้ำได้ตามที่ต้องการ ซึ่งแผ่นยางนั้นทำมาจากยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์
……….2. ฝายคอนกรีต มี 2 ชนิด

……….……….ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced concrete weirs) มีลักษณะเป็นตอม่อคอนกรีต ตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตเป็นระยะ ห่างกันประมาณ 2.0 เมตร ตลอดความกว้างของลำน้ำ ช่องระหว่างตอม่อทุกช่องมีกำแพงคอนกรีตตั้งทำหน้าที่เป็นสันฝาย (sharp crested weir ) และมีแผ่นไม้ กระดาน สำหรับไว้อัดน้ำ เมื่อต้องการยกระดับน้ำให้สูงขึ้น
……….……….ฝายคอนกรีตล้วนหรือฝายหินก่อ (mass concrete or masonry weirs) ฝายคอนกรีตล้วนหรือฝายหินก่อเป็นกำแพงทึบ มีรูปตัดคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งมีด้านบนคือสันฝายแคบกว่าด้านล่าง ซึ่งเป็นฐานฝาย โดยปกติลาดฝายด้าน เหนือน้ำไม่มี หน้าฝายตั้งชันเป็นแนวดิ่งกับพื้นฝาย ส่วนลาดฝายด้านท้ายน้ำมีส่วนสัดตามที่คำนวณได้ เพื่อให้น้ำไหลข้ามฝายสะดวกและไม่ให้น้ำตกกระแทกพื้น ฝายแรงเกินไปรูปตัดของฝายจะถูกดัดแปลงไปบ้าง คือ จะทำสันฝายและบริเวณ ที่ปลายลาดฝายตัดกับพื้นท้ายน้ำไม่ให้มีเหลี่ยมมุมเหลืออยู่เลย


อ่างเก็บน้ำ



……….อ่างเก็บน้ำ คือ ทะเลสาบน้ำจืดที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการก่อสร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นอาณาบริเวณ หรือแหล่งที่เก็บกักน้ำฝน ซึ่งไหลมาบนผิวดิน และน้ำท่าที่ไหลมาตามน้ำให้ขังรวมกันไว้ เพื่อที่จะสามารถควบคุมการไหลของน้ำ ในแม่น้ำลำธารเหล่านั้นให้มีปริมาณที่เหมาะสม สำหรับนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ


เขื่อนและอ่างเก็บน้ำในประเทศไทย

เขื่อนสิริกิติ์



ชื่อเขื่อน : เขื่อนสิริกิติ์
สถานที่ตั้ง : อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว สันเขื่อนสูง 133.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บ กักน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สามรองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,391 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,255 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
..........เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ก่อสร้างโดยกรมชลประทานโดยมีวัตถุประสงค์ด้านชลประทานเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และ โรงไฟฟ้าเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520
การใช้ประโยชน์
..........การชลประทาน น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน กับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน
..........การบรรเทาอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจจะไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัย ในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร
..........การผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง ๔ เครื่อง ให้พลังไฟฟ้า ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
..........การประมง กฟผ. ได้นำพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ กลายเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ ช่วยเสริมรายได้ให้กับราษฎรบริเวณนั้น
..........การคมนาคมทางน้ำ ช่วยให้การคมนาคมทางน้ำ บริเวณเหนือเขื่อนไปยังจังหวัดน่าน สะดวก และใช้งานได้ตลอดปี
..........การท่องเที่ยว เขื่อนสิริกิติ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของ บรรยากาศ เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




เขื่อนภูมิพล


ชื่อ : เขื่อนภูมิพล
ขนาดพื้นที่ : บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง154 เมตร ยาว486เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 3,462 ล้านลูกบาศก์เมตร
การใช้ประโยชน์ : ผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ในด้านการชลประทาน ยังสามารถปล่อย น้ำในอ่างเก็บน้ำ ไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๗.๕ ล้านไร่ รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดตาก ภายในบริเวณเขื่อน มีสวน สาธารณะที่มีความร่มรื่น ชื่อ “สวนน้ำพระทัย” และที่เขื่อน แม่ปิงตอนล่างก็มี “สวนเฉลิมพระเกียรติ” ไว้ต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




เขื่อนปากมูล


ชื่อ : เขื่อนปากมูล
ขนาดพื้นที่ : เป็นคอนกรีตอัดบดแน่นมีอาคารระบายน้ำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แยกเป็นช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ขนาดกว้าง 22.5 เมตร สูง 14.75 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
การใช้ประโยชน์ :โรงไฟฟ้า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ด้านขวาของตัว เขื่อน โดยมีความยาวไปตามแนวเขื่อน 72 เมตร ภายในโรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องผลิต ไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งเป็นแบบที่มีลักษณะพิเศษกว่าที่มี ติดตั้งอยู่ตามเขื่อน ต่างๆ ในประเทศไทยขณะนี้ คือมีรูปร่างคล้ายกระสวย หรือเรือดำน้ำ เครื่องกัง หันน้ำและเครื่องผลิตไฟฟ้าบรรจุรวมอยู่ใน กระเปาะเดียวกัน (Bulb Turbine Generator) สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยความสูงของน้ำเพียง 3 เมตร ขึ้นไปแต่ละเครื่องมีกำลังผลิต 34,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 136,000 กิโลวัตต์ได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงระบบส่งไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนปากมูลจะถูกส่งไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบล ราชธานี2 ด้วยสายส่งไฟฟ้า ขนาด 115 กิโลโวลต์ ความยาว 70 กิโลเมตรจากนั้นจึงส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงศรีสะเกษ (65 กิโลเมตร) เพื่อเชื่อมเข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี



หนองหาน



ชื่อ : หนองหาน
ขนาดพื้นที่ : เป็นหนองน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 77,000 ไร่ มีลำน้ำ 14 สาย ไหลลงสู่หนองหาน หนองหานเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่มี “ลำน้ำก่ำ” ไหลเชื่อมจากหนองหานลงสู่แม่น้ำโขงการใช้
ประโยชน์ : เป็นแอ่งรับน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้บริเวณหนองหานยังประกอบไปด้วย ดอนที่มีขนาดน้อย-ใหญ่และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ได้แก่ ดอนสวรรค์ใหญ่ ดอนสวรรค์น้อย ดอนหวาย ดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหน่วยพื้นที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและได้กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ โดยรอบพื้นที่ ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและท่องเที่ยว พักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี




บึงบอระเพ็ด



ชื่อ : บึงบอระเพ็ด
ขนาดพื้นที่ : บึงบอระเพ็ดมีพื้นที่รับน้ำประมาณ 2.75 ล้านไร่ หรือ 4,400 ตร.กม. ระดับความลึกเฉลี่ยของน้ำในบึงประมาณ 1.6 เมตร บริเวณที่ลึกที่สุดประมาณ 5 เมตร ระดับน้ำต่ำสุดในเดือนสิงหาคม และสูงสุดในเดือนตุลาคม มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 62,500 ไร่ (100 ตร.กม.) ในบึงมีเกาะเล็กๆ อยู่ราว 10 เกาะ เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ (1.44 ตร.กม.)

การใช้ประโยชน์ : บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะปลูกพืชน้ำ แหล่งน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยง มีประโยชน์ต่อการคมนาคม และมีคุณค่าทางนันทนาการและการท่องเที่ยว แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรประมงที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศ นำรายได้มาสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบบึงที่ประกอบอาชีพการประมงตลอดมา คาดประมาณว่ามีปริมาณการจับปลาโดยเฉลี่ย 1,200-1,500 ตัน/ปี และมีปลาเลี้ยงจากบ่อและกระชังอีกประมาณ 2,000 ตัน/ปี ช่วงปี 2513-19
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี



เขื่อนแม่งัด


ชื่อเขื่อน : เขื่อนแม่งัด
สถานที่ตั้ง : อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 26.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 4,500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
..........เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตัวเขื่อนสร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน การก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
การใช้ประโยชน์
..........ด้านการชลประทาน สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 30,000 ไร่ และช่วยส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ เพาะปลูกของฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแฝก) จังหวัดเชียงใหม่ โครงการแม่ปิงเก่า จังหวัดลำพูน และพื้น ที่เพาะปลูกโดยฝายของราษฎรอีกด้วย รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 188,000 ไร่

..........ด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ประมาณ24.50 ล้านกิโลวัตต์
..........ด้านการประมง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น
..........การท่องเที่ยว เขื่อนแม่งัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีแพพัก มีร้านอาหร เหมาะที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อน รับประทานอาหารที่แพ และนั่งเรือชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี


กว๊านพะเยา


ชื่อ : กว๊านพะเยา
ขนาดพื้นที่ : บริเวณนี้เป็นศูนย์รวมลำห้วยต่างๆถึง 18 สาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 12831 ไร่ ต่อมากรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิง และสร้างเป็นฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์ : ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี



เขื่อนเจ้าพระยา



ชื่อ : เขื่อนเจ้าพระยา
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท มีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.50 เมตร 16 ช่อง เป็นเขื่อนระบายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 เสร็จ พ.ศ. 2500 รวมพื้นที่ 7,250,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ : เพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่ในเขตโครงการ ชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ 17 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก สมุทรสาคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนชิราลงกรณ์


ชื่อ : เขื่อนชิราลงกรณ์
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำแม่กลอง ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.50 เมตร 8 ช่อง สร้างเมื่อพ.ศ. 2507 เสร็จพ.ศ. 2513 รวมพื้นที่ 2,622,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ : เพื่อทดน้ำ ส่งให้พื้นที่ในเขตโครงการชลประทาน แม่กลองใหญ่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี และเพชรบุรี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนพระรามหก


ชื่อ : เขื่อนพระรามหก
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีช่องระบายน้ำกว้าง 12.50 เมตร 6 ช่อง รวมพื้นที่ 680,000 ไร่ สร้างเมื่อ พ.ศ.2458 เสร็จ พ.ศ.2467
การใช้ประโยชน์ : เป็นเขื่อนระบายน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่ใน เขตโครงการชลประทานป่าสักใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และปทุมธานี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนเพชร


ชื่อ : เขื่อนเพชร
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำแม่เพชรบุรี ที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีช่องระบายน้ำ กว้าง 6 เมตร 4 ช่อง สร้างเมื่อพ.ศ. 2485 เสร็จพ.ศ. 2493 รวมพื้นที่ 336,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ : ปลายเขื่อนทั้งสอง ข้างมีลักษณะเป็นฝาย เพื่อช่วยระบายน้ำในเวลาน้ำนอง ทดน้ำส่งให้พื้นที่ในเขต โครงการชลประทานเพชรบุรี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนกิ่วลม


ชื่อเขื่อน : เขื่อนกิ่วลม
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Gravity Dam ตัวเขื่อนสูง 26.50 เมตร สันเขื่อนยาว 5,035 เมตร กว้าง 135 เมตร เก็บกักน้ำได้ 112ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 578 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อการชลประทาน สร้างกั้นแม่น้ำวัง ที่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 ตัวเขื่อนสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2515 งานระบบส่งน้ำเสร็จพ.ศ. 2524 เป็นเขื่อนที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน
การใช้ประโยชน์ : เพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วังกิ่วลม ในฤดูในได้พื้นที่ประมาณ 55,000 ไร่ นอกจากนี้ยังใช้น้ำเพื่อการประปาและช่วยบรรเทาอุทกภัย ในเขตจังหวัดลำปางประโยชน์ด้านการชลประทาน ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วังกิ่วลม ในฤดูในได้พื้นที่ประมาณ 55,000 ไร่ นอกจากนี้ยังใช้น้ำเพื่อการประปาและช่วยบรรเทาอุทกภัย ในเขตจังหวัดลำปางการชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ไร่ บรรเทาอุทกภัย ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดลำปางจากปริมาณเอ่อล้นแม่น้ำวังในช่วงฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดีการประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นการประปา น้ำในเขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภคในเขตลำปางการท่องเที่ยว เขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีแพพัก มีแพร้านอาหาร มีกิจกรรมล่องเรือชมวิว เล่นวินเสริฟ บานาน่าโบ๊ท เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี


เขื่อนน้ำเชิญ


ชื่อ : เขื่อนน้ำเชิญ
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นลำน้ำเชิญ ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีช่องระบายน้ำ ขนาด 6.00 x 6.50 เมตรจำนวน 4 ช่อง สร้าง พ.ศ. 2520 เสร็จ พ.ศ. 2522
การใช้ประโยชน์ : เพื่อทดน้ำและส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในโครงการสหกรณ์ น้ำเชิญ ในฤดูฝนได้ประมาณ 20,000 ไร่ และในฤดูแล้งได้อีกประมาณ 15,000 ไร่ และในระยะต่อมาโครงการสหกรณ์น้ำเชิญสามารถขยาย พื้นที่ส่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกในฤดูฝนเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 5,000 ไร่ เนื่องจากน้ำต้นทุนของน้ำเชิญมีปริมาณเพียงพอ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี


เขื่อนปัตตานี



ชื่อ : เขื่อนปัตตานี
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี ที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กับอำเภอ ยะรัง และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีช่องระบายน้ำกว้าง 6 เมตร 6 ช่อง มีประตู ระบายทรายอยู่ทางด้านขวา ตัวเขื่อนขนาดกว้าง 60 เมตร อีก 1ช่อง เริ่มโครงการ พ.ศ. 2511 ตัวเขื่อนปัตตานีสร้างเสร็จ พ.ศ. 2523 งานระบบส่งน้ำ ระบบ ระบายน้ำ และงานพัฒนาในแปลงนาเสร็จ พ.ศ. 2530
การใช้ประโยชน์ : เป็นเขื่อนทดน้ำคอนกรีตแห่งแรกที่มีอ่างเก็บน้ำ เหนือเขื่อน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเหนือเขื่อนสร้างคันกั้นน้ำเป็นทางยาว เพื่อป้องกันจากแม่น้ำปัตตานี ท่วมไร่นาสองฝากฝั่งแม่น้ำ จึงทำให้พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยาวไปตามลำน้ำ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่เปาะปลูกทั่งสองฝั่งลำน้ำ ปัตตานีในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ ยะรัง มายอ หนองจิก เมืองปัตตานี ยะหริ่ง และปะนะเระ จังหวัดปัตตานี กับพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมืองยะลา ประมาณ 33,000 ไร่
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนนเรศวร


ชื่อ : เขื่อนนเรศวร
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน ที่บ้านหาดใหญ่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก สร้างพ.ศ. 2520 ตัวเขื่อนเสร็จพ.ศ. 2523 งานระบบส่งน้ำเสร็จพ.ศ. 2528 จำนวน 572,400 ไร่ และพื้นที่บริเวณฝั่งซ้ายตอนบนของแม่น้ำน่านบริเวณทุ่งสานใน เขตจังหวัดพิษณุโลกอีกจำนวน 94,700 ไร่ นอกจากนี้หากได้ก่อสร้างโครงการพิษณุโลกระยะที่ 2 จะช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณฝั่งซ้ายตอนล่างของแม่น้ำน่านอีกจำนวน 753,750 ไร่ ในเขต จ.พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์
การใช้ประโยชน์ : เพื่อทดและส่งน้ำให้แก่พื้นที่บริเวณฝั่งขวาของ แม่น้ำน่านในเขต 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร และส่วนบนของจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อบรรเทาอุทกภัยจากแม่น้ำยม บริเวณพื้นที่ในเขตโครงการฯ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนแก่งกระจาน


ชื่อเขื่อน : เขื่อนแก่งกระจาน
สถานที่ตั้ง : อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 58 เมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนดินปิดเขาต่ำทางขวางเขื่อนอีก 2 แห่ง คือ แห่งแรกสูง 36 เมตร สันเขื่อนยาว 305 เมตร แห่งที่ 2 สูง 24 เมตร สันเขื่อนยาว 255 เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น มีความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 46.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,325 ไร่ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 929 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ในด้านการชลประทานบริเวณที่ราบ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เขื่อนแก่งกระจานสร้างกั้นแม่น้ำเพชร ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวก กับตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำของเขื่อนเพชรขึ้นไป 27 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2504 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2509 ต่อมา เมื่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจานขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2517 น้ำที่ถูกปล่อยเพื่อการชลประทานได้ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
การใช้ประโยชน์ :
ด้านการชลประทาน สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วยด้านการประมง เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเขื่อนแก่งกระจานเป็นจำนวนมาก กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจคือการล่องเรือชมวิวบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ไปกางเต็นท์พักแรมบนเกาะต่างๆ ไปตกปลา และไปพักแรมบริเวณริมเขื่อนด้านพลังงาน เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี